IDENTIFY INTANGIBLE IDENTITY OF CHAROENKRUNG โดย นาย สรัล ตั้งตรงสิทธิ์
พักผ่อนจากโควิดไปนาน เริ่มกลับมาแล้ว Fotoclub BKK อยากชวนเพื่อนๆมาเอาวิชาการใส่หัวกันหน่อยครับ 555 มันน่าสนใจตรงที่เรื่องทุกอย่างเกิดขึ้นในพื้นที่ "เจริญกรุง" ซึ่งมันอาจจะเปิดมุมมองใหม่ที่พวกเรามีต่อพื้นที่สร้างสรรค์แห่งนี้
จุดเริ่มต้นของงานวิจัย การออกแบบเรขศิลป์จากแนวการออกแบบเรขศิลป์โดยใช้แนวคิดปฏิสัจนิยมสําหรับอัตลักษณ์ ย่านสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ย่านเจริญกรุง เริ่มต้นเมื่อผู้จัย นายสรัล ตั้งตรงสิทธิ์ได้สัมผัสกับเสน่ห์เฉพาะตัวของย่านเจริญกรุง และ ได้เกิดความสนใจ แต่ก็พบว่าย่านเจริญกรุงยังไม่ได้รับการออกแบบอัตลักษณ์ (งานออกแบบอัตลักษณ์ในที่นี้คือการออกแบบตรา สัญลักษณ์หรือโลโก้ที่นําไปใช้ในสื่อต่าง ๆ รวมทั้งกราฟิกอื่น ๆ อย่างลวดลาย ไอคอน ระบบป้าย ที่ถูกกําหนดขึ้นเพื่อใช้งานอย่าง เป็นเอกภาพ) ผนวกกับในขณะนั้นขกําลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จึงได้นําประเด็นดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อวิทยานิพนธ์
นอกเหนือจากการสืบค้นข้อมูลทางด้านเอกสาร งานวิจัย รวมทั้งลงพื้นที่แล้ว ด้วยงาน ออกแบบอัตลักษณ์นั้นเป็นเหมือนกับการสะท้อนอัตลักษณ์เฉพาะหรือตัวตนของย่านออกมาผู้ที่สามารถตอบคําถามหรือใหข้้อมูล เกี่ยวกับย่านเจริญได้ดีที่สุดคงไม่ใช่นักเขียน นักวิจัย หรือบุคคลภายนอก แต่ต้องเป็นคนในย่านเจริญกรุง ผู้วิจัยจึงได้สร้างเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูลให้คนในย่านเจริญกรุงมีส่วนร่วมในการออกความเห็นว่าอะไรที่เป็นอัตลักษณ์ของย่านเจริญกรุงกันแน่ เครื่องมือใน การเก็บข้อมูลถูกออกแบบให้เป็นบอร์ดผ้ายาง 3 ชิ้นที่จะบรรจุคําถามทั้งหมด 5 ข้อ โดยวิธีการตอบคําถามคือการแปะแผ่นโพสต์ อิทลงบนคําตอบที่เลือก ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งทางวัดมังกรกมลาวาส ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในการเอื้อเฟื้อสถานที่ในการเก็บข้อมูล จากการลงพื้นที่โดยใช้เครื่องมือดังกล่าว ประชาชนในเจริญ กรุงส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า เจริญกรุงนอกเหนือจากการเป็นพื้นที่สําคัญในการการค้าแล้ว ย่านเจริญกรุงยังเป็นย่านที่มีความ หลากหลายทางมรดกวัฒนธรรมอันเกิดจากการรวมกลุ่มชุมชนทางศาสนาทั้ง 3 ศาสนาที่เป็นหลัก ได้แก่ ศาสตร์คริสต์นิกายโรมัน ทาคอลิก ศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศาสนาอิสลาม ซึ่งทําให้เกิดคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมที่สําคัญอย่างซึ่งเป็นสถานที่สําคัญ ทางศาสนาอย่าง 1) อาสนวิหารอัสสัมชัญ 2) วัดมังกรกมลาวาส และ 3) มัสยิดฮารูณ ประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความเห็นว่า แม้ย่าน เจริญกรุงในอนาคตจะมีความเจริญในทุกด้านที่มากขึ้น แต่ก็จะสามารถคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณในอดีต จากข้อมูลที่ ได้ข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้นําข้อมูลดังกล่าวไปดําเนินการออกแบบ
ตราสัญลักษณ์ย่านเจริญกรุงใช้ทรงจั่วแทนกลุ่มคนจีนนิกายมหายาน ทรงโค้งจากบานประตู โบสถ์ต่าง ๆ แทนกลุ่มคนผู้นับถือคริสต์นิกายโรมัน ทาคอลิก และเมื่อสองรูปทรงมาผสานกัน ก็จะเกิดพื้นที่ว่างที่มีรูปทรงเหมือน หลังคามัสยิด เป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อมองโดยรวมยังสามารถดูได้เหมือนกับรากของต้นไม้ แสดงถึง ความเป็นรากฐานวัฒนธรรมของย่านซึ่งเกิดขึ้นจากทั้ง 3 ศาสนา สีที่เลือกใช้มี 3 สีได้แก่ น้ําเงิน เหลือง และแดง ซึ่งเป็นแม่สีพื้นฐาน ขั้นที่ 1 ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบสะท้อนพันธกิจในการเป็นย่านสร้างสรรค์ ทั้งนี้ข้าพเจ้านําแนวคิด ปฏิสัจนิยมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ ซึ่งคือแนวคิดที่ว่าด้วยการสื่อสารผ่านตัวแทนบางอย่างเพื่ออธิบายถึงสิ่งท่ไี ม่สามารถ มองเห็นได้หรือจับต้องได้อย่างศาสนา โดยงานออกแบบอัตลักษณ์นั้นถูกต่อยอดจาดตราสัญลักษณ์ไปสู่งานส่วนอื่น ๆ อย่างงาน ออกแบบชุดสเตชั่นเนอร์รี่ โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ไอคอนของสถานที่ต่าง ๆ และระบบป้ายที่ใช้ภายในย่าน
นิทรรศการ Identify Intangible Identity of Charoenkrung จัดแสดงวันที่ 25 – 28 มิถุนายน 2563 เวลา 11.00 – 18.00 น. ณ Gallery ชั้น 2 Fotoclub Bangkok โดยในวันที่ 27 มิถุนายน 2563 จะมีการบรรยายด้านการออกแบบเรื่อง อัตลักษณ์ย่านเจริญกรุง โดยการเข้าชมและฟังบรรยายไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
Advance Photography Workshop with Akane Prmsab
The Experimental music กล้าที่จะหลุดจากกรอบเดิม คนทำดนตรีจาก Samadhi Sound
แนะนำ The Silver Factory at Fotoclub BKK
"Soup Film" สร้างสีสันและเอฟเฟกต์ให้ภาพฟิล์มด้วยตัวเองที่่ Fotoclub BKKK